วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

4.วัฒนธรรมการใช้ชีวิตพื้นฐานของคนเกาหลี



วัฒนธรรมที่คนเกาหลีทำและไม่ทำ?


        ไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนก็จะต้องมีวัฒนธรรมหรือสิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาอยู่แล้ว   แล้วสงสัยกันไหมว่าถ้าอย่างนั้นชาวเกาหลีเขามีวัฒนธรรมอะไรที่ทำและไม่ทำกันบ้าง ลองมาดูกันดีกว่าค่ะ

1. การทักทาย
คนเกาหลีทำ : การกล่าวคำทักทายและคำขอบคุณนั้น คนเกาหลีจะต้องก้มศีรษะคำนับเสมอ ส่วนการโค้งต่ำระดับไหนนั้น จะขึ้นอยู่กับความอาวุโสของอีกฝ่ายนั่นเอง
คนเกาหลีไม่ทำ : การกล่าวทักทายด้วยการโอบกอดในที่สาธารณะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำกับคนที่เพิ่งเจอกันเป็นครั้งแรกหรือไม่ได้สนิทสนมกันพอสมควร นอกเสียจากเป็นการกอดเพื่อการล่ำลาสำหรับในเรื่องของการทักทายของคนเกาหลีก็จะมีวัฒนธรรมที่มีความคล้ายคลึงกันกับคนไทยอยู่มาก จะแตกต่างกันตรงที่คนเกาหลีจะก้มศีรษะ แต่บ้านเราจะเป็นการไหว้ แต่ปัจจุบันวัฒนธรรมของประเทศตะวันตกก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น การทักทายด้วยการกอดหรือการจับมือ จึงได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความสนิทสนมระหว่างบุคคล แต่ถ้าพบกับผู้ใหญ่ก็ยังคงวัฒนธรรมการทำความเคารพไว้เสมอ

2. การเรียกผู้อื่น
คนเกาหลีทำ : การเรียกคนที่ไม่รู้จักกัน หรือไม่รู้จักชื่อ จะใช้คำพูดที่เป็นการเกริ่นนำขึ้นมาก่อนไม่ได้มีคำเรียกบุคคลนั้นตายตัว เช่น ขอโทษนะคะ,ไม่ทราบว่า แต่อาจจะใช้คำสรรพนามที่สามารถ ใช้เรียกได้เลย เช่น 아저씨 (อาจอชี) ซึ่งแปลว่า คุณลุง หรือ 아줌마 (อาจุมม่า) ซึ่งแปลว่า คุณป้า การเรียกคนที่มีอายุมากกว่า จะไม่เรียกชื่อเขา แต่จะใช้สรรพนามให้เหมาะสมกับเขาคนนั้น แต่ถ้าเรียกคนที่มีอายุน้อยกว่า หรือเป็นเพื่อนรุ่นเดียวกัน สามารถเรียกชื่อได้ หรืออาจใช้สรรพนามแทนก็ได้เช่นกัน
การเรียกผู้อาวุโสอาจเติมคำว่า (นิม : เป็นคำต่อท้ายที่แสดงถึงความเคารพหรือหมายถึงการให้เกียรติ หรือผู้ที่น่ายกย่อง) ต่อท้ายตำแหน่งหน้าที่การงานของบุคคลนั้น เช่น ครู,อาจารย์ (선생님 อ่านว่า ซอนแซงนิม) หรือเติมคำว่าคุณ” ( อ่านว่า ชี) ต่อท้ายชื่อเต็มของเพื่อนร่วมงาน เพื่อความสุภาพมากขึ้น เช่น คุณฮานึล (하늘씨 อ่านว่า ฮานึลชี)
*เรามักจะได้ยินศิลปินจากค่าย SM Entertainment กล่าวขอบคุณประธานของค่ายอย่างคุณอีซูมานอยู่บ่อยๆและพวกเขาจะเรียกว่าอีซูมานซอนแซงนิมซึ่งเป็นการเรียกที่ให้เกียรติและแสดงความเคารพ
คนเกาหลีไม่ทำ : จะไม่เรียกคนที่ไม่รู้จักกันหรือไม่รู้จักชื่อว่า (นอ) ซึ่งแปลว่า คุณหรือเธอเพราะเป็นคำที่ใช้เรียกกันเฉพาะเพื่อนหรือคนสนิทเท่านั้น
ข้อแตกต่างระหว่างคนไทยกับคน
เกาหลีอีกอย่างคือการเรียกชื่อ บ้านเราไม่ว่าจะสนิทกันมากหรือไม่ก็ตาม ก็สามารถเรียกชื่อเล่นได้ ในขณะที่คนเกาหลีจะต้องเป็นคนที่สนิทสนมกันหรือได้รับ การอนุญาตจากอีกฝ่ายหนึ่งก่อนจึงจะสามารถเรียกชื่อเล่นกันได้

3. การรับประทานอาหาร
คนเกาหลีทำ : ใช้ตะเกียบโลหะกับช้อนยาวโดยใช้ช้อนรับประทานข้าวซุป และสตูว์ และใช้ตะเกียบกับเครื่องเคียงแบบอาหารแห้ง เคี้ยวอาหารหรือซดน้ำซุปเสียงดัง เพื่อแสดงความอร่อย (คล้ายวัฒนธรรมจีนและญี่ปุ่น) วางช้อนและตะเกียบลงบนโต๊ะเมื่อทานเสร็จ แล้วน้อมรับคำชมเกี่ยวกับรสชาติอาหารและบริการผู้น้อย ก่อนจะรับประทานอาหาร ต้องรอให้ผู้อาวุโสที่สุดเป็นฝ่ายบอกเริ่มการรับประทานอาหารเสมอ เมื่อมีคนรินเครื่องดื่มให้ก็ควรรินกลับเพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณ ผู้ที่มีอายุน้อยที่สุดต้องเป็นคนรินเครื่องดื่มให้ผู้อาวุโส กว่าเสมอและต้องรินด้วยสองมือ
คนเกาหลีไม่ทำ : ใช้ช้อนและตะเกียบพร้อมกัน ปักตะเกียบไว้ในชามข้าว เพราะถือว่าเป็นการเซ่นไหว้คนตาย ยกจานหรือชามขึ้นมาขณะรับประทานอาหาร การพูดคุยระหว่างมื้ออาหารที่มากเกินไป การสั่งน้ำมูกในโต๊ะอาหาร ลุกจากโต๊ะอาหารก่อนที่ผู้อาวุโสที่สุดจะรับประทานเสร็จ รินเครื่องดื่มให้ผู้อื่นขณะที่เครื่องดื่มในแก้วยังไม่หมดในข้อนี้ก็เป็นมารยาทขั้นพื้นฐานที่คนส่วนใหญ่มักจะทำกันอยู่แล้ว คนเกาหลีนั้นจะให้ความสำคัญกับผู้อาวุโสและมารยาทที่คน อายุน้อยกว่าจะต้องเคารพผู้ที่อาสุโสกว่าไม่ว่าจะเป็นด้านอายุหรืออาชีพการงาน

4. การแสดงออก
คนเกาหลีทำ : การจับมือทักทายกันอย่างสุภาพโอบกอดในที่สาธารณะทำเฉพาะกรณีเพื่อการล่ำลา แสดงออกอย่างอ่อนน้อมถ่อมตน ชาวเกาหลีจะแสดงแสดงความคิดเห็นด้วยความระมัดระวังรอบ คอบเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นเกิดการเข้าใจหรือตีความหมายผิด
คนเกาหลีไม่ทำ : การแสดงความรักระหว่างเพศในที่สาธารณะ (เช่น กอด, จูบ) ถูกเนื้อต้องตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณศีรษะนอกจากจะแสดงความเอ็นดูต่อเด็กเล็กๆ เท่านั้น คุยโวโอ้อวดความสามารถของตนเอง แสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาทิ้งขยะบนท้องถนนเพราะค่าปรับแพง

5. การใช้มือ
คนเกาหลีเวลาที่จะมอบและรับสิ่งของหรือรับสิ่งของจากผู้ใหญ่จะทำโดยการใช้มือทั้งสองมือในการรับ ถ้ารับของจากผู้ใหญ่โดยใช้มือเดียวจะถือว่าเป็นการเสียมารยาท
ทั้งหมด 5 ข้อนั้นก็เป็นมารยาทพื้นฐานที่คนเกาหลีต้องทำกัน แต่ก็มีอีกเล็กๆน้อยๆที่ควรจะรู้ไว้บ้าง ถ้าหากมีโอกาสได้เดินทางไป จะได้ไม่ทำผิดกันนะ
- ในเกาหลี การให้ทิป ไม่ใช่สิ่งจำเป็น เพราะตามโรงแรม และร้านอาหารจะบวกค่าบริการ (Service Charge) ไว้แล้ว 5-10% ของค่าอาหาร หรือห้องพัก- ค่าเลี้ยงสุนัขที่เกาหลีใต้ค่อนข้างแพง ถ้าหากจูงสุนัขไปเดินเล่นตามถนน แล้วสุนัขอึเราต้องทำการเก็บทำความสะอาดให้เรียบร้อย ไม่อย่างนั้นอาจจะต้องเสียค่าปรับก็ได้นะ
- ประเทศเกาหลีใต้ มีระบบตรวจจับคนที่ขับรถผิดกฎจราจร ซึ่งทางตำรวจจะส่งหลักฐานมาถึงบ้านเพื่อแจ้งเรื่อง ความเร็ว, เวลา, ทะเบียนรถยนต์ และผู้ทำผิดกฎจราจรต้องไปเสียค่าปรับที่โรงพักเอง
- ผู้หญิงเมื่อแต่งงานแล้ว จะไม่เปลี่ยนไปใช้นามสกุลของสามี แต่จะยังคงใช้นามสกุลของตนตามเดิม ส่วนลูกที่เกิดมาจะใช้นามสกุลของพ่อ

6.ชื่อคนเกาหลี ชาวเกาหลีส่วนใหญ่จะมีชื่อสกุลจำกัดอยู่ในไม่กี่กลุ่มชื่อ เช่น 21% จะมีชื่อสกุลว่า คิม 14% จะมีชื่อสกุลว่า ยี, ลี หรือ รี 8% มีชื่อสกุลว่า ปาร์ค นอกจากนั้นก็มีชื่อสกุลแตกออกไปอีกเช่น ชอย (หรือ แช) เจิง (หรือ ชุง) จาง (หรือ ชาง) ฮัน , ลิม เป็นต้น ชื่อเต็มของชาวเกาหลีก็จะประกอบด้วย ชื่อสกุล 1 พยางค์และชื่อหน้า 2 พยางค์ ชื่อสกุลจะเขียนก่อน สตรีชาวเกาหลีจะไม่เปลี่ยนชื่อสกุลตามคู่สมรส แต่บุตรและธิดาจะใช้ชื่อสกุลของบิดา

7.การสมรส ชาวเกาหลีถือว่าการสมรสนั้นเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในชีวิต และการหย่าร้างถือว่าเป็นความตกต่ำเสียชื่อเสียงไม่เพียงแต่สำหรับคู่สมรส เท่านั้น แต่รวมไปถึงครอบครัวเลยทีเดียว แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม อัตราหย่าร้างในปัจจุบันก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นเร็วพอควร การประกอบพิธีสมรสในปัจจุบันแตกต่างไปจากในสมัยโบราณ นั่นคือในปัจจุบันนี้พิธีจะเริ่มด้วยแบบทางตะวันตก นั่นคือมีการสวมชุดวิวาห์สีขาวสำหรับเจ้าสาวและทัคซีโดสำหรับเจ้าบ่าว โดยประกอบพิธีในห้องจัดพิธีวิวาห์ หรือในโบสถ์ ต่อมาช่วงบ่ายจะมีพิธีแบบ ดั้งเดิมในสถานที่ใหม่ด้วยชุดวิวาห์ที่มีสีสันงดงาม

8.เจเย (พิธีเคารพบูชาบรรพบุรุษ) ตามหลักความเชื่อดั้งเดิมของเกาหลีนั้น เมื่อบุคคลหนึ่งสิ้นชีวิตลง วิญญาณของเขายังไม่ไปไหน แต่ยังวนเวียนอยู่ใกล้เป็นเวลากว่า 4 ชั่วคนทีเดียว ในช่วงเวลาอันยาวนานนี้ผู้ตายยังถูกถือว่าเป็นสมาชิกของครอบครัวความ สัมพันธ์อันนี้ถูกถ่ายทอดออกมาด้วยพิธีเจเยซึ่งจัดขึ้นในวันพิเศษต่างๆ เช่น ซอลัล และชูซก รวมทั้งวันครบรอบวันเสียชีวิตของบรรพบุรุษเหล่านั้น ชาวเกาหลีเชื่อว่าการที่เขามีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขนั้นก็ด้วยพรอัน ประเสริฐซึ่งบรรพบุรุษให้ไว้นั่นเอง

9.ภาษากาย เมื่อต้องการกวักมือเรียกผู้อื่นนั้น ควรคว่ำมือลงและกวักนิ้วเรียกโดยใช้นิ้วชิดกัน การกวักมือเรียกโดยหงายฝ่ามือขึ้นนั้นไม่สุภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้นิ้วกวักเรียก เพราะถือเป็นกิริยาเรียกสุนัขสำหรับชาวเกาหลี

    ทั้งหมดนี้ก็คือวัฒนธรรม ซึ่งเป็นมารยาทพื้นฐานที่คนเกาหลีปฏิบัติกันมาไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนๆก็ล้วนแล้วแต่ต้องมีวัฒนธรรมของประเทศกันทั้งนั้น ดังนั้นเราคนไทยถ้าจะเดินทางไปที่ต่างประเทศ      ไม่เพียงแค่ประเทศเกาหลีเท่านั้น ก็ควรจะปฏิบัติตัวให้ถูกต้องกับมารยาทของประเทศนั้นๆด้วย


วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

3.วัฒนธรรมด้านกีฬา

กีฬาประเพณี 

ชาวเกาหลีรักการกีฬาเป็นอย่าง มาก 20 ปีมาแล้ว ที่เกาหลีเป็นเจ้าภาพการแข่งขันนานาชาติต่างๆรวมทั้งกีฬาโอลิมปิคในปี ค.ศ.1988 และฟุตบอลโลกค.ศ.2002 นอกจากนี้นักกีฬาของเกาหลีก็ได้คะแนนยอดเยี่ยมในการแข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆนอกจากกีฬาสมัยใหม่เช่นการชิงแชมป์นานาชาติเรือกีฬาฤดูหนาวแล้ว เกาหลียังมีการละเล่นตามประเพณีแบบชาวบ้านและกีฬาแบบต่าง ๆ อันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและถ่ายทอดมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ การละเล่นหรือกีฬาประเภทนี้จะเล่นกันในโอกาสพิเศษเช่น วัดขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติ วันชูซก (วันขอบคุณพระเจ้าของเกาหลี) หรือวันทาโน๊ะวันที่ 5 เดือน 5 จันทรคติ

การต่อสู้ซีรึม

      ซีรึม เป็นหนึ่งในกีฬาประเพณีของเกาหลีที่ถูกถ่ายทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณการเล่นประกอบด้วยนักกีฬา 2 คน ที่ต้องจับเชือกคาดเอวของคู่ต่อสู้ให้มั่น และใช้พลังของตัวเองโยนคู่ต่อสู้ของตัวให้ลงพื้นให้ได้จึงจะเป็นผู้ชนะใน ปัจจุบัน ซีรึมเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมมากในหมู่สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีชาวเกาหลีทั้งหนุ่มสาวและผู้สูงอายุและทุกๆปีก็จะมีการแข่งขันกีฬานี้บ่อย ๆ  


กีฬาเทควันโด

     กีฬายอดนิยมที่โด่งดังจนเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลกนี้ เป็นกีฬาที่ถือกำเนิดขึ้นมาจากประเทศเกาหลีมีประวัติยาวนานกว่า 2,000 ปี เป็นกีฬาที่ใช้ทุกส่วนของร่างกายโดยเฉพาะแขนและขากีฬาเทควันโดไม่ได้เป็นแค่ ศิลปินการป้องกันตัวเท่านั้นแต่ยังเป็นการเสริมสร้างบุคลิกภาพโดยการฝึกกาย และจิต คำว่าเทควันโด มาจากการรวมคำสามคำคือ คำว่า “แท”แปลว่า เท้าหรือการโจมตีด้วยเท้า “คว็อน”แปลว่ามือหรือการโจมตีด้วยมือ “โท”แปลว่า วิถีหรือสติปัญญา เมื่อรวมกันแล้วจะสามารถแปลได้ว่าวิถีแห่งการใช้มือและเท้าในการต่อสู้และ ป้องกันตัวหรือการใช้มือและเท้าในการต่อสู้และป้องกันตัวอย่างมีสติ 

 เทควันโด-เกาหลี

 การยิงธนู

       การยิงธนู คือประเพณีแห่งศิลปะการต่อสู้และขณะเดียวกันก็เป็นการละเล่น ตั้งแต่ยุคสมัยเกาหลีโบราณ การยิงธนูเป็นการแสดงความสามารถที่สำคัญทีเดียว และได้รับการขนานนามว่าเป็นกีฬาชั้นสูง

 






การละเล่นตามประเพณี

คีเนตุยกี-เกาหลี


คีเนตุยกี(ชิงช้า) คีเนตุยกี เป็นการละเล่นที่คนเล่นนั้นสามารถเล่นได้ทุกเพศทุกวัย แต่นิยมที่จะเล่นกันใน หมู่สุภาพสตรี เช่นเดียวกับนอลตุยกี คีเนตุยกีทำขึ้นโดยใช้เชือก 2 เส้นผูกติบแดกัผ่นไม้และนำไปแขวนติดกับต้นไม้สูง หรือผูกติดกับไม้ซุงที่ต่อเป็นคานหญิงสาวชาวเกาหลีจะสามารถโล้ชิงช้าคึเนนี้ ไปได้สูงจนน่าตกใจเลยทีเดียว โดยนิยมเล่นกันในวันทาโน๊ะคึเน




หมากรุก-เกาหลี

ชางกี (หมากรุกเกาหลี)  ชางกีเป็นหมากกระดานที่มีการละเล่นคล้ายกับหมากรุกสากล โดยต้องใช้ผู้เล่นทั้งหมด 2 คน เช่นเดียวกับหมากเดินทำด้วยไม้หรือพลาสติก บรรดานักเล่นหมากรุกทั้งหลายย่อมรู้จักตัวพระราชา เรือ ม้า และเบี้ย อื่น ๆ แต่ที่แตกต่างจากหมากรุกสากลคือมีช้างและปืนใหญ่ด้วยการละเล่นนี้และพาดุก ถือว่าเป็นการละเล่นแบบต้องใช้ยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีต่างๆ ในการเอาชนะคู่ต่อสู้ โดยเป็นการจำลองการสั่งการในสนามรบอย่างหนึ่ง


นอลตุยกีเกาหลี2

นอลตุยกี (กระดานหก) การละเล่นชนิดนี้ เป็นประเพณีการละเล่นสำหรับสุภาพสตรี ส่วนวิธีการเล่นนั้น จะใช้แผ่นไม้ยาวพาดฐานตรงกลางที่ทำจากกองฟางที่แห้งแข็ง ทำให้มีลักษณะเหมือนม้ากระดกแบบตะวันตก อีกทั้งยังมีวิธีเล่นที่คล้ายกัน เพียงแต่เปลี่ยนจากการนั่ง เป็นการยืนผลัดกันกระโดดลงบนลายไม้แต่ละข้างซึ่งจะทำให้ฝั่งตรงข้ามถูกแรง ดีดของไม้กระดานลอยตัวขึ้นไปการละเล่นนี้มักจะเล่นกันในวันหยุดตามประเพณี ต่างๆเช่นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ วันชูซกหรือวันทาโน๊ะ


หมากล้อม-เกาหลี1

พาดุก หรือในภาษาญี่ปุ่น เรียกว่า “โก” และคนไทยเรียกว่าหมากล้อมกก เป็นการละเล่นบนกระดาน 4 เหลี่ยม โดยมีผู้เล่น 2 คนผลัดกันวางหมากสีขาว และสีดำสลับกัน ลงบนจุดตัดบนกระดาน เพื่อแย่งชิงพื้นที่กันโดยใครที่สามารถครอบครองพื้นที่ได้มากกว่า ก็จะเป็นผู้ชนะไป พาดุกเป็นการละเล่นที่เป็นที่นิยมไปทั่วโลก ซึ่งกลายเป็นการละเล่นสากลที่มีการจัดการแข่งขันกันอย่างจริงจังพาดุกนั้นมี ความซับซ้อน และหลากหลายมาก จนสามารถกล่าวได้ว่าตั้งแต่กำเนิดพาดุกมา ไม่มีหมากกระดานใดที่เดินเหมือนกันเลย




ยุทนอริ-เกาหลี

  ยุทนอริ-เกาหลี2

ยุทนอริ การละเล่นแบบไม้ 4 แท่ง ยุทนอริจัดเป็นการละเล่นของเกาหลีแท้ๆซึ่งจะนิยมเล่นกันในเดือนช่วงเดือน มกราคมในจันทรคติและวันขึ้นปีใหม่โดยคำว่ายุท เป็นคำ ๆ หนึ่งในเกมส์นี้ (โด, เก, กล, ยุท และโม) หมายความว่า “สี่” เกมส์มีความคล้ายคลึงกับ เกมส์พาชีสิ แต่การเล่นแบ่งออกเป็น 2 ทีม วิธีเล่นก็โยนไม้ทั้งสี่แล้วเมื่อได้ผลลัพธ์เป็นอะไรก็เดินหมากไปรอบ ๆ ตามนั้น แบ่งเป็นสองทีม

2.วัฒนธรรมการแต่งกาย

 
เครื่องแต่งกายของชาวเกาหลีใต้ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีชื่อเรียกว่า “ฮันบก (한복)” ซึ่งหากแยกคำ “ฮัน”  จะหมายถึง ชาวฮั่นหรือชาวเกาหลี และ “บก” หมายถึง ชุด ความหมายรวมจึงเป็น “ชุดของชาวเกาหลี” นั่นเอง


 




     ความงามและความอ่อนช้อยของวัฒนธรรมเกาหลี มักถูกถ่ายทอดออกมาผ่านทางภาพถ่ายของสุภาพสตรีในเครื่องแต่งกายฮันบกนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่ชุดฮันบกจะเป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของประเทศเกาหลีเครื่องแต่งกายทั้งของผู้หญิงและผู้ชาย จะมีลักษณะหลวมเพื่อความสะดวกสบาย ในการเคลื่อนไหว และเสื้อผ้าจะใช้ผ้าผูกแทนกระดุมหรือตะขอ โดยส่วนประกอบของชุดฮันบก  มีดังนี้



 ชุดผู้หญิง

   หญิง สวมกระโปรงทรงหลวมยาวถึงข้อเท้า สวมเสื้อคลุมผ่าอกตัวสั้น ๆ อยู่เหนือเอว แขนยาวถึงข้อมือ ฮันบกไม่มีปก ตัวเสื้อไขว้กัน มีโบว์ผูกที่ อกด้านขวา เรียกว่า “จอโกลี” หน้าหนาว จะสวมทูรูมาคี ถุงเท้าเรียกว่า "ฟอซ็อน" สวมรองเท้ายาวสีขาว มีปลายงอนเล็กน้อย เรียกว่า โกมูซิน มีผ้าผูกที่หน้าอกในแทนเสื้อยกทรง เรียกว่า "ซ๊อกซีมา" กระโปรงกับเสื้อคลุมจะสีเดียวกันก็มี คนละ สีก็มี กระโปรงเรียกว่า "ซีมา"ทำด้วยผ้าฝ้ายไหมอย่างดี ผ้าไหมของเกาหลีเนื้อหนา มีน้ำหนักมาก มีจีบรอบขึ้น มาเหนืออกมีผ้าขลิบตามคอ สีจะติดกับแขน ทรงกระโปรงจะเรียกว่า "ทรง Empire"










 ชุดไม่เป็นทางการของพระราชนี


  ชุดผู้ชาย 
        สวมกางเกงขายาวสีขาวหลวม ๆ เรียกว่า "บาจี" รวบปลายขาด้วยแถบผ้าเรียกว่า “แทนิน” สวมถุงเท้า เรียกว่า “ยังมัล” สวมเสื้อแขนสั้น รัดรูปแขนสั้น ไว้ข้างในเรียกว่า “บันโซเม” สวมเสื้อหลวม ๆ หรือแต่งแบบชาวตะวันตก เสื้อประจำชาติเป็นเสื้อตัวยาว แขนยาวไม่มีปกไม่มี กระเป๋า เรียกว่า “ซอโกรี” แต่บางทีสวมเสื้อกัก ไม่มีแขน มีกระเป๋าเรียกว่า “โจ๊ะกี” ผู้ชายนิยมสวม หมวกสีดำ ไม่มีปีกเหมือนผ้าโปร่ง รัดรอบศีรษะ เรียกว่า “ท้งก็อน” แล้วสวมหมวกทรงสูงมีปีก เรียกว่า “คัช”




 


  องค์ประกอบของแต่ละชิ้น

            ผู้หญิง

  
                                           แพนที = กระโปรงชั้นใน
                                        ซ็อกชีมา = แถบผ้าขนาดใหญ่ ใช้มัดทรวงอกแทนเสื้อยกทรง

 


                                              ชีมา = กระโปรงชั้นนอก ยาวคลุมเท้า  

 
                                                 ซอโกรี = เสื้อนอกแขนยาว



 โชกี = เสื้อกั๊ก จะใส่เวลาออกงานต่างๆ




 อา-ยัม  =  เป็นหมวกสำหรับผู้หญิง ใส่กับชุดฮันบก
มีหางยาวไปถึงหลัง ไว้ป้องกันความเหน็บหนาว






พี-นยอ = ปิ่นปักผมของผู้หญิง ไว้ปักมวยผมด้านหลัง
ความยาวและวัสดุที่ใช้จะขึ้นอยู่กับสถานะและบรรดาศักดิ์ของแต่ละคน

 

 

ตอล-จัม =  เป็นปิ่นประดับผม ใช้กับวิกผม แบบที่อยู่ในรูปด้านบน
ส่วนหัวของปิ่น มีลักษณะเป็นหัวใหญ่ๆ ประดับอย่างสวยงามด้วยเพชรนิลจินดา
ผู้ที่ใส่คือ ผู้หญิงในราชวงศ์ เช่น เจ้าหญิงและพระชายา




  โน-รี-แก =  เป็นเครื่องประดับที่ไว้ห้อยติดกับชอโกรี



กด-ชิน =  หลังจากใส่ถุงเท้าแล้ว ก็ต้องทับด้วยรองเท้าสำหรับชุดฮันบก
     รองเท้าสำหรับผู้หญิง จะมีลายดอกไม้อยู่รอบๆรองเท้า

    ผู้ชาย
    

พาจี = กางเกงขายาวชั้นนอก รวบปลายขาด้วย แทมิน
วิธีผูกแทนิม (대님) ที่ปลายพาจี


แทมิน = แถบผ้าใช้มัดขากางเกง 



โชกี = เสื้อกั๊ก จะใส่เวลาออกงานต่างๆ

 

 ทูรูมากี = เป็นเสื้อนอก คล้ายเสื้อโค้ต ใส่เมื่อออกไปข้างนอก

 

คัด =  เป็นหมวกสำหรับผู้ชาย ทรงสูง มีสายรัดใต้คาง สีดำโปร่ง
ส่วนใหญ่จะเป็นขุนนาง หรือผู้ที่ทำงานอยู่ในวังใส่กัน

 

เวลาที่ใส่คัด ผู้ชายก็จะทำผมทรงซังทู (상투)


 

พอ-ซอน = เป็นถุงเท้าสำหรับชุดฮันบก

การผลิตชุดฮันบก มีประเภทเนื้อผ้าที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับโอกาสและวัยของ ผู้สวมใส่ โดยเด็กผู้หญิงหรือหญิงสาว (ที่ยังไม่แต่งงาน) จะสวมเสื้อสีเหลือง กระโปรงสีแดง และจะเปลี่ยนเป็นเสื้อสีเขียว กระโปรงสีแดงเมื่อแต่งงานแล้ว นอกจากนี้ ชาวเกาหลียังคำนึงถึงความเหมาะสมของเนื้อผ้ากับสภาพ
อากาศประเทศของตนอีกด้วย โดยในฤดูหนาวจะใช้ผ้าฝ้ายและสวมกางเกงขายาวที่มีสายรัดข้อเท้า ช่วยในการเก็บความร้อนของร่างกายส่วนในฤดูร้อนจะใช้ผ้าป่านลงแป้งแข็ง ซึ่งช่วยในการดูดซับและแผ่ระบายความร้อนในร่างกายได้ดี ในปัจจุบันการสวมชุดประจำชาติฮันบก จะใช้เฉพาะในโอกาสพิเศษต่างๆเท่านั้น เช่น งานมงคลสมรส, ซอลนัล (วันขึ้นปีใหม่ของเกาหลี) หรือวันชูซก (วันขอบคุณพระเจ้า) แต่อย่างไรก็ตาม ผู้คนบางกลุ่ม โดยเฉพาะผู้สูงอายุก็ยังคงสวมใส่ชุดฮันบกกันอยู่

1.วัฒนธรรมด้านศิลปะ

     ศิลปะเกาหลีมีลักษณะเด่นหลายประการที่ทำให้เกิดแบบของตัวเอง ศิลปะเกาหลียกย่องธรรมชาติและการใช้สีอ่อนและเรียบก็ปรากฏอยู่เสมอในภาพเขียนและเครื่องปั้นแบบเกาหลี วัฒนธรรม งานหัตกรรมพื้นบ้านคือศิลปะที่สืบทอดกันมาหลายร้อยปีงานไม้และเครื่องเขียน ของเกาหลีเป็นที่รู้จักกันดี โดยเน้นการออกแบบที่เพื่อประโยชน์ใช้สอยและความเรียบง่ายสิ่งสะดุดตาในงาน ไม้เกาหลีคือศิลปะการประดับมุก งานหัตกรรมโลหะทำด้วยทองทำด้วยสำริด ทางด้านพระพุทธศาสนามีการสร้างพระพุทธรูปสำริด ระฆังวัดที่หล่อด้วยสำริด เอกลักษณ์ของระฆัง เกาหลีคือรูปร่างการออกแบบและเสียง ศิลปะเครื่องปั้นดินเผาเกาหลีเป็นประเทศที่เป็นที่ยอมรับในการพัฒนาศิลปะ ด้านนี้และเครื่องปั้นดินเผาที่มี ชื่อเสียงคือ ศิลาดล เป็นเครื่องเคลือบที่มีความสดใสฝีมือประณีตนิยมเคลือบด้วยสีขาวซึ่งพัฒนาให้ สวยงามในยุคโกเรียว เพื่อการอนุรักษ์สิ่งดีงามตั้งแต่อตีด ทางการเกาหลีได้จัดตั้งโครงการสมบัติประจำชาติเกาหลีใต้ขึ้น
     ศิลปะของนักปราชญ์ เดิมรูปแบบตัวอักษรเกาหลีและญี่ปุ่นเป็นอักษรจีน ซึ่งเป็นตัวเขียนที่ยังใช้อยู่ในเอเชียตะวันออกร่วมพันปี แม้ว่าหลังจากที่เกาหลี ประดิษฐ์อักษรฮันกึล ในปี พ.ศ. 1989(ค.ศ. 1446) ตัวอักษรจีนยังคงใช้ในภาษาทางการ จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เพราะว่าตัวอักษรจีนมีอยู่นับหมื่นตัว แต่ละตัวมีความแตกต่างกัน มีวิธีเขียนหลายแบบ หลายความหมาย การเรียนอ่านและการเขียนตัวอักษรจีนไม่ใชเรื่องง่ายศิลปะการเขียนอักษรจีน ได้เข้ามาในประเทศเกาหลีเมื่อ 1,500 ปีมาแล้ว

     การเขียนตัวอักษรด้วยพู่กันเกาหลีเรียกว่า "บุดกึลซี" ต้องอาศัยปัจจัย 4 ของนักปราชญ์ ได้แก่ หมึก แท่งหินฝนหมึกและกระดาษ ศิลปินเขียนพู่กันส่วนใหญ่มักเป็นทั้งนักปราชญ์และจิตกร ศิลปินเหล่านี้อาจใช้พู่กันเล่มเดียวกันเขียนกลอนบรรยายภาพ ภาพวาดเกาหลี เป็นศิลปะที่มีธรรมเนียมนิยมของตนเองอย่างสมบูรณ์ จิตรกรรม ภาพจิตกรรมของเกาหลีมีมานานแล้ว สถาบันภาพวาดก่อตั้งขึ้นในยุคโกกุริวสถาบันแห่งนี้เน้นภาพวาด ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา รูปแบบจิตกรรมที่หลากหลายได้พัฒนาสืบต่อกันมาจนถึงสมัยโซชอน พร้อมนำรูปแบบศิลปะจีนแบบใหม่รวมทั้งเทคนิคการวาดภาพแบบตะวันตก มีการใช้สีสันสดใสในภาพที่วาดเกี่ยวกับศาสนานี้ 
 พระพุทธรูปในถ้ำซ็อกคูรัม

1.1 ด้านดนตรี

            เครื่องดนตรีตามประเพณีเกาหลีมีประมาณ 60 ชนิด ที่ได้มีการสืบทอดกันจนถึงปัจจุบันเครื่องดนตรีเหล่านั้น มีทั้งพิณ 12 สาย เรียกว่า “คายากึม และพิณ 6 สาย เรียกว่า “คิวมันโก พิณทั้งสองชนิดนี้เชื่อว่าน่าจะมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 6
          เครื่อง ดนตรีเกาหลีแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ เครื่องสาย เครื่องเป่า และเครื่องตี คิมดุกซู ซามัลนอริวงดนตรีประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีสี่ชิ้นที่มีชื่อเสียงมากทั้งในเกาหลีและต่าง ประเทศ ซึ่งเป็นการผสมผสานกันระหว่างบทเพลงเก่าและบทประพันธ์ใหม่ๆ ทำให้เกิดเป็นผลงานทางดนตรีในมิติใหม่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

    ชาวเกาหลีได้สร้างวัฒนธรรมที่โดดเด่นผ่านช่วงประวัติศาสตร์อันยาวนานและมรดกทาง วัฒนธรรมอันเด่นเฉพาะตัวก็สามารถพบได้ตลอดคาบสมุทรชาวเกาหลีให้คุณค่ากับการ เรียนรู้และมีชื่อเสียงมากในการอุทิศตนและความมุมานะอุตสาหะบางทีอาจเป็น เพราะลักษณะเหล่านี้ก็ได้ที่ทำให้พวกเขาสามารถใช้แรงกระตุ้นทางวัฒนธรรมซึ่ง นำมาประยุกต์อย่างถี่ถ้วนกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ   
 พันซอรี (ดนตรีที่เน้นการแสดงความรู้สึก) และดนตรีพิธีไสยศาสตร์ มีจังหวะที่รวดเร็วและกระฉับกระเฉง
 คุกอัก แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ ชองอัก หรือดนตรีในราชสำนัก ซึ่งเป็นดนตรีชั้นสูง มีท่วงทำนองเชื่องช้า เยือกเย็น และซับซ้อน

 มินซกอัน หรือดนตรีพื้นบ้านได้แก่ ดนตรีของชาวนาชาวไร่ 




 เพลงชาติเกาหลีมีชื่อว่า "เอกึกกวา"หมายถึง บทเพลงแห่งความรักต่อประเทศ 
ชาวเกาหลีจะร้องเพลงชาติทุกโอกาสที่เป็นทางการ ไม่ว่าจะเป็นโอกาสแห่งความสุขหรือความทุกข์ เดิมเพลงชาติเกาหลีใช้ทำนองเพลง AULD LANG SYNE (สามัคคีชุมนุม) ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นทำนองแบบเกาหลีแต่ยังคงเนื้อร้องเดิมไว้

  ปัจจุบันนี้ ประเทศเกาหลีใต้ โด่งดังในเรื่องดนตรีแนวเพลง K-pop บางคนอาจจะสงสัยว่าคืออะไร ?
K-Pop คือ เพลงป็อปเกาหลี โดยเฉพาะเพลงจากเกาหลีใต้ ที่มีศิลปินทั้งกลุ่มและเดี่ยวมากมายอย่างเช่น ชินฮวา, โบอา, เรน, เซเว่น, ทงบังชินกี, โซนยอชิแด, มิสเอ, คารา, วันเดอร์เกิลส์, ซูเปอร์จูเนียร์, ชายนี่, ทูพีเอ็ม, เอฟ (เอกซ์), ที-อาร่า, เอพิ้งค์ (A Pink), บีสท์, EXO(เอ็ก-โซ) B.A.P. (บีเอพี)และบิ๊กแบง นอกจากนี้ ยังมีประเทศอื่นที่ได้รับความนิยมด้วย เช่น จีน, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, ฮ่องกง, ฟิลิปปินส์, ไทย และประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความนิยมในดนตรีเกาหลีมักจะถูกพิจารณาว่าเป็นหนึ่งในการเติบโตของความคลั่ง ไคล้ในกระแสเกาหลี ที่นิยมในวัฒนธรรมเกาหลีของคนเอเชีย 
 ภาพตัวอย่างศิลปินวงดังที่นิยมในประเทศไทย

Winner

 Girls Generation

 สัญลักษณ์ชื่อวงต่างๆ

1.2 ด้านงานฝีมือ

          มีงานฝีมือที่เก่าแก่มากมายในเกาหลี ส่วนใหญ่มากเป็นงานฝีมือทีเกิดจากการกระทำยามว่างของผู้คนมักใช้วัสดุโลหะ ไม้ แฟบริก แก้ว ซึ่งหาพบได้ง่ายงานฝีมือส่วนใหญ่ มักได้รับอิทธิพลจากประเทศจีน ประเทศ เกาหลีได้รับเอาศิลปะการทำเครื่องปั้นดินเผามาจากประเทศจีนเมื่อกว่า 1,000 ปีมาแล้ว ศิลปะแขนงนี้ได้เจริญรุ่งเรืองและกลายเป็นประเพณีอย่างหนึ่งซึ่งชาวเกาหลีมี ความภาคภูมิใจเครื่องปั้นดินเผาแบบศิลาดลสีเขียวอมฟ้า ที่มีความสวยงามแบบลึกซึ้งจากราชวงศ์โคเรียว (ค.ศ.918-1392) ก็เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางไปทั่วโลกและเป็นที่ต้องการของผู้ที่นิยม วัตถุโบราณ เช่นเดียวกับเครื่องกระเบื้องสีขาวจากราชวงศ์โชซอน (ค.ศ.1392-1910) ศิลปะแขนงนี้ได้เข้าไปมีอิทธิพลต่อศิลปะญี่ปุ่นในยุคสมัยต่าง ๆ โดยเฉพาะในช่วงที่ญี่ปุ่นที่รุกรานประเทศเกาหลีในช่วงปีทศวรรษ 1950 และทำให้ศิลปะแขนงนี้เจริญรุ่งเรืองในญี่ปุ่นจนถึงทุกวันนี้

korchung13
เครื่องปั้นดินเผาของเกาหลี

ภาพวาดงานฝีมือชิ้นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติเกาหลี

1.3 ด้านจิตรกรรม

        จิตรกรรมที่พบในเกาหลีในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นเป็นศิลปะสกัดหิน ซึ่งแสดงถึงการเผยแพร่ศาสนาพุทธจากประเทศอินเดีย ผ่านทางประเทศจีน จิตรกรรม แบบเกาหลีแตกต่างจากรูปแบบของตะวันตกอย่างสิ้นเชิงด้วยลักษณะลายเส้นและการ ให้สีซึ่งเป็นแบบฉบับเฉพาะตัวของศิลปะตะวันออก การค้นพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับจิตรกรรมโบราณในสุสานหลวงจากยุค สามอาณาจักร 57 ปีก่อนคริสตศักราช  ค.ศ. 668) ช่วยให้เราสามารถเข้าใจวิถีชีวิตของคนในสมัยนั้น ต่อมาในสมัยราชวงศ์โคเรียว (ค.ศ.918-1392) ศาสนาพุทธมีความเจริญรุ่งเรืองถึงจุดสูงสุด มีงานจิตรกรรมแบบพุทธ และศิลปวัตถุอื่น ๆ เกิดขึ้นมากมายในวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ส่วนในสมัยราชวงศ์โชซอน (ค.ศ.1392-1910) ลัทธิขงจื้อได้กลายเป็นหลักปรัชญาในการบริหารประเทศ บรรดาปัญญาชนในสมัยนั้นจึงผลิตงานศิลปะที่แสดงถึงอิทธิพลของลัทธิขงจื้อและ ศิลปะแบบจีน ในขณะเดียวกัน จิตรกรรมพื้นบ้านซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่สามัญชนกลับไม่ได้รับอิทธิพลจากแนว ความคิดใดความคิดหนึ่ง จึงมีการใช้เทคนิคการเขียนภาพที่เป็นอิสระ แสดงออกถึงอารมณ์และความรู้สึก รวมทั้งใช้สีสันสดใส เพื่อสื่อถึงพลัง อารมณ์ และความรื่นเริง สำหรับโรงเรียนสอนด้านจิตรกรรมทั้งของแบบเกาหลีและตะวันตกที่เปิดอยู่ใน เกาหลีปัจจุบันก็มีผลงานบางชิ้นที่ผสมผสานกัน

 painting

 ภาพวาดจิตรกรรมเกาหลีแบบดั้งเดิม

 

สถาปัตยกรรมอันงดงามของพระราชวังคย็องบก

1.4 ด้านนาฎศิลป์ 

    ศิลปะการร่ายรำแบบเกาหลีแบ่งออกเป็น 2 ประเภทเช่นเดียวกับดนตรี คือ แบบราชสำนักและแบบพื้นบ้าน ในแบบฉบับของราชสำนักนั้น ท่าทางของการรำจะช้าและสง่างาม ซึ่งสะท้อนปรัชญาของการเดินสายกลางและการระงับอารมณ์ความรู้สึก เป็นอิทธิพลมาจากปรัชญาขงจื้อ ในทางตรงกันข้าม ระบำพื้นบ้าน
          วิวัฒนาการของนาฏศิลป์เกาหลีก็ทำนองเดียวกับของชาติอื่น มักจะเริ่มและดัดแปลงให้เป็นระบำปลุกใจในสงคราม เพื่อให้กำลังใจแก่นักรบ หรือไม่ก็เป็นพิธีทางพุทธศาสนา หรือเป็นการร้องรำทำเพลงในหมู่ชนชั้นกรรมาชีพ หรือแสดงเป็นหมู่  นาฏศิลป์ในราชสำนักก็มีมาแต่โบราณกาลเช่นเดียวกัน

  

 ซึ่ง สะท้อนปรัชญาของการเดินสายกลางและการระงับอารมณ์ความรู้สึก เป็นอิทธิพลมาจากปรัชญาขงจื้อ ในทางตรงกันข้าม ระบำพื้นบ้านซึ่งสะท้อนชีวิตการทำงานและศาสนาของสามัญชนจะใช้จังหวะและทำนอง ที่สนุกสนาน เป็นลักษณะของการแสดงออกที่เป็นอิสระและมีชีวิตชีวาของคนเกาหลี เช่น ระบำของชาวนาชาวไร่ ระบำหน้ากาก และการร่ายรำทางไสยศาสตร์

นาฏศิลป์เกาหลี มีลีลาอันงดงามอ่อนช้อยอยู่ที่การเคลื่อนไหวไหล่และเอวเป็นส่วนสำคัญ ตามหลักทฤษฎีนาฎศิลป์เกาหลี มี 2 แบบ คือ
1.  แบบแสดงออกซึ่งความรื่นเริง ความโอบอ้อมอารี และความอ่อนไหวของอารมณ์
2.  แบบพิธีการ ดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมและประเพณีทางพุทธศาสนา
          จุดเด่นของนาฏศิลป์เกาหลี มีลักษณะคล้ายนาฏศิลป์สเปน คือผู้แสดงเคลื่อนไหวทั้งส่วนบนและส่วนล่างของร่างกายเป็นการผสมผสานระหว่าง นาฏศิลป์ตะวันตกและนาฏศิลป์ตะวันออกเข้าด้วยกัน  ซึ่งนาฏศิลป์ตะวันตกเน้นหนักในการใช้ขาและร่างกายส่วนล่าง แต่นาฏศิลป์ตะวันออกจะใช้ส่วนไหล่ แขน และมือ
     โรงเรียนนาฏศิลป์เกาหลีสมัยปัจจุบัน จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.  โรงเรียนนาฏศิลป์แผนโบราณ ซึ่งไม่ยอมรับอิทธิพลอื่นใดนอกจากจะรักษาแบบฉบับเดิมไว้
2.  โรงเรียนนาฏศิลป์สมัยใหม่ จะรับเอาแบบอย่างของนาฏศิลป์ตะวันตกเข้ามารวมด้วย ซึ่งได้รับความนิยมมากกว่าแบบโบราณ

     
     นาฏศิลป์เกาหลีที่ควรรู้จัก ได้แก่
1.  ละครสวมหน้ากาก เนื้อเรื่องมักคล้ายคลึงกัน ลีลาการแสดงนั้นนำเอานาฏศิลป์แบบต่างๆ มาปะติดปะต่อกัน
2.  ระบำแม่มดก็เป็นนาฏศิลป์อีกแบบหนึ่ง และการร้องรำทำเพลงประเภทลูกทุ่งนั้นก็มีชีวิตชีวาอย่างยิ่ง
3.  ระบำบวงสรวงในพิธีและระบำประกอบดนตรีที่ใช้ในพิธีเลี้ยงต้อนรับในราชสำนัก ซึ่งประกอบด้วยบรรยากาศอันงดงามตระการตาน่าชมมาก

folk2

 การร่ายรำทางไสยศาสตร์

folk

 ระบำของชาวนาชาวไร่

 

mask

ระบำหน้ากาก 


"การได้รู้จักและเห็นคุณค่าของนาฏศิลป์เกาหลีจะช่วยให้นักท่องเที่ยวเข้าใจวัฒนธรรมของคนเกาหลีใต้มากยิ่งขึ้น"