วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558

5.วัฒนธรรมด้านอาหาร

         แรกเริ่มเดิมที่เกาหลีเป็นประเทศเกษตรกรรม และชาวเกาหลีเพาะปลูกข้าวเป็นอาหารหลักมาตั้งแต่โบราณกาล มาในสมัยนี้อาหารเกาหลีจะเป็นตำหรับซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์นานาชนิด ปลา พร้อมด้วยพืชสีเขียวและผักต่าง ๆ อาหารหมักดองต่าง ๆ เช่น กิมจิ ช็อดกัล (jeotgal - อาหารทะเลหมักเกลือ) และท็อนจัง (deonjang - ถั่วเหลืองหมักเหลว) ขึ้นชื่อในรสชาติโดยเฉพาะและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง
         จุดเด่นในการตั้งโต๊ะอาหารเกาหลีคืออาหารจานต่าง ๆ ถูกนำมาจัดวางในคราวเดียวกัน โดยการปฏิบัติสืบทอดกันมา มีการเสิร์ฟอาหารประเภทเรียกน้ำย่อยเริ่มจากอาหาร 3 ชนิด สำหรับสามัญชนถึง 12 ชนิดสำหรับชนชั้นวงศานุวงศ์ การจัดโต๊ะอาหารต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่ามีการเสิร์ฟอาหารจานก๋วยเตี๋ยวหรือ เนื้อหรือไม่ มีการแสดงการจัดโต๊ะอาหารตามกฎระเบียบให้ผู้สนใจเรื่องอาหารและการรับประทาน อาหารได้เห็น หากจะเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างจีนและญี่ปุ่นแล้ว เกาหลีนิยมใช้ช้อนมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเสิร์ฟน้ำซุป
         คนเกาหลีนิยมทานผักสด จะเห็นทุกครั้งบนโต๊ะอาหาร ก็คือ กิมจิ โดยในแต่ละมื้อจะต้องประกอบ 3 สิ่ง คือ ข้าว ซุป และกิมจิ อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการจากซอสถั่วเหลือง ถั่วหมัก และน้ำมันงา ซึ่งได้แก่วิตามินและเกลือแร่


 pic_food1
ฮันจ็องชิก การจัดสำรับ

อาหารเกาหลี
         เป็นอาหารประจำชาติของชาวเกาหลีในประเทศเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ อาหารเกาหลีที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดคือ กิมจิ (คิมชี) ซึ่งเป็นผักดองที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวเกาหลี
การรับประทานอาหารของชาวเกาหลีจะจัดอาหารขึ้นโต๊ะพร้อมกันทุกอย่างเรียกว่า "ฮันจ็องชิก" โดยในหนึ่งสำรับประกอบด้วย ข้าว ซุป และกิมจิเป็นหลัก นอกจากนั้นมีกับข้าวที่ทุกคนกินร่วมกัน และบันซันซึ่งเป็นเครื่องเคียงจานเล็ก ๆ จำนวนบันซันจะมากหรือน้อยขึ้นกับฐานะทางสังคม ส่วนใหญ่สามัญชนมี 3 อย่าง ถ้าเป็นเชื้อพระวงศ์อาจมีถึง 12 อย่าง เครื่องเคียงเหล่านี้ได้แก่ ผักลวก ผักนึ่ง และอาหารทะเลแห้ง
        อุปกรณ์ที่ใช้ในการกินอาหารของชาวเกาหลี ได้แก่ชามหินใบใหญ่ที่เก็บความร้อนได้ดีใช้ใส่อาหารร้อน ชามโลหะสำหรับอาหารเย็น ช้อนด้ามยาว และตะเกียบโลหะ

pic_food2

 ตะเกียบและช้อนของชาวเกาหลี

มารู้จัก “กิมจิ” อาหารประจำชาติเกาหลี กันเถอะ

“กิมจิ” อาหารประจำชาติของชาวเกาหลี ที่นับวันยิ่งจะเป็นที่นิยมมากขึ้นๆ ด้วยรสชาติที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงทำให้ชาวต่างชาตินิยมสรรหามาลิ้มลองกัน ไม่เว้นแม้แต่คนไทย ที่นิยมนำกิมจิมาเป็นเครื่องเคียงในมื้ออาหารอยู่เสมอ โดยเฉพาะอาหารประเภทปิ้งย่างที่มีให้เห็นกันแทบจะทุกร้านเลยทีเดียว นอกจากกิมจิจะมีรสชาติที่เผ็ดอร่อยแล้ว กิมจิยังมีวิตามินและสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายมนุษย์อีกด้วยค่ะ  ส่วนที่มาของการทำกิมจินั้น เนื่องมาจากสภาพอากาศของประเทศเกาหลีในช่วงฤดูหนาวที่หนาวจัด จนไม่สามารถททำการเพาะปลูกได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการยืดอายุอาหาร โดยวิธีการเก็บรักษาอาหารต่างๆ

การทำกิมจิ ก็เป็นวิธีการเก็บรักษาอาหารชนิดหนึ่งของชาวเกาหลีค่ะ โดยการทำกิมจิในสมัยโบราณนั้น จะใช้แค่ “เกลือ” เท่านั้นในการดองกิมจิ ซึ่งกิมจิในสมัยนั้นจะมีชื่อเรียกว่า “ชิมเช” ซึ่งแปลว่า “ผักดองเค็ม” หรือ “ผักที่ใส่เกลือลงไป” นั่นเองค่ะ ต่อมาในต้นศตวรรษที่ 17 ก็ได้มีการนำ “ผงพริกแดง” เข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการดองกิมจิให้มีรสชาติที่เข้มข้นมากขึ้น แต่กว่าที่จะมีการนำผงพริกแดงมาใช้ในการทำกิมจิอย่างจริงจังนั้น ก็กินเวลาไปกว่า 200 ปีทีเดียวค่ะ ส่วนวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการทำกิมจินั้น มีมากมายหลายประเภทขึ้นอยู่กับแต่ละประเภทของกิมจิที่มีถึง 187 ชนิด ซึ่งแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นและสภาพอากาศค่ะ(น่าจะเป็นอารมณ์แบบว่า แถวๆ บ้านมีอะไรคงจับมาดองหมดแน่ๆ เลย 555+) แต่กิมจิที่ได้รับความนิยมแบบสุดๆ ชนิดที่ไม่มีใครไม่รู้จักเลยก็คือ แบชูกิมจิ หรือกิมจิผักกาดขาวนั่นเองค่ะ


หากใครได้ลองลิ้มลองแล้วก็คงยากที่จะลืมเลือนรสชาติของความเผ็ดนิด เปรี้ยวหน่อย อร่อยกำลังดีของกิมจิชนิดนี้ ซึ่งนอกจากแบชูกิมจิแล้ว ยังมีกิมจิประเภทอื่นๆ ที่เป็นที่รู้จัก และโด่งดังไม่แพ้กัน ยกตัวอย่างเช่น “กิมจิหัวไชเท้า”,“กิมจิแตงกวายัดใส้” เป็นต้นค่ะ ไม่เพียงแต่ผักเท่านั้นนะคะที่สามารถนำมาทำเป็นกิมจิได้ เนื้อสัตว์บางชนิดยังสามารถนำมาทำเป็นกิมจิได้แถมยังอร่อยอีกด้วย ซึ่งเนื้อสัตว์ที่นิยมนำมาทำเป็นกิมจินั้นก็ได้แก่ หอยแมลงภู่, หอยนางรม หรือปลาหมึก เป็นต้นค่ะ จะเห็นได้ว่าชนิดของกิมจินั้นมีให้เลือกรับประทานกันอย่างมากมาย ซึ่งชาวเกาหลีเองก็มักจะเลือกรับประทานกิมจิแต่ละชนิดในฤดูกาลที่แตกต่างกัน ไปค่ะ เช่น นิยมทานกิมจิที่ทำจากแตงกวา หรือหัวไชเท้า ในฤดูร้อน เพราะเป็นผักที่มีน้ำมาก เหมาะสำหรับอากาศร้อนๆ เป็นต้นค่ะ

มารู้จักกับประเพณีการทำกิมจิ ที่มีชื่อเรียกว่า “คิมจาง” กันค่ะ 

กว่าจะได้กิมจิที่รสชาติแสนอร่อยและมีคุณค่าทางโภชนาการนั้น ใช่ว่าจะทำกันง่ายๆ นะคะ เพราะการจะทำกิมจิให้มีคุณภาพได้นั้น จะต้องเริ่มต้นจากการคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพก่อนค่ะ โดยผักกาดขาวที่นำมาใช้ควรจะเป็น “ผักกาดขาวจีน” เพราะจะให้รสชาติที่ดีกว่าผักกาดขาวชนิดอื่นๆ รวมไปถึงส่วนผสมต่างๆ ที่นำมาใช้หมักก็จะต้องเลือกที่สดและสะอาดเช่นเดียวกันค่ะ ส่วนวิธีการบรรจุนั้นในสมัยก่อนนิยมนำกิมจิที่ทำเสร็จแล้วเก็บลงในไหแล้วฝัง ลงดินค่ะ (ประมาณว่า ถ้าบ้านไหนไม่มีไหกิมจิละก็ บ้านนั้นเชยระเบิดเลยหล่ะ อิอิ) แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงวิธีการเก็บแบบใหม่โดยการนำกิมจิที่ทำเสร็จแล้ว ใส่ไว้ในกล่องถนอมอาหาร แล้วนำไปเก็บไว้ในตู้เย็น เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปค่ะ

ถ้าพูดถึงกิมจิ แต่ไม่พูดถึงประเพณีหนึ่งที่ชื่อว่าคิมจาง ก็คงจะดูเหมือนขาดอะไรไปบางอย่างนะคะ “คิมจาง” เป็นประเพณีการเตรียมผักดองกิมจิในช่วงฤดูหนาวของชาวเกาหลีที่สืบทอดกันมา นานจากรุ่นสู่รุ่น และแสดงให้เห็นว่าคนเกาหลีให้ความสำคัญกับการทำกิมจิกันมากขนาดไหน โดยคนเกาหลีเค้าจะทำคิมจางกันในช่วงต้นฤดูหนาว เพื่อจะได้มีกิมจิเอาไว้ทานกันตลอดฤดูหนาวที่ไม่สามารถเพาะปลูกได้ สำหรับการทำคิมจางนั้น นอกจากจะได้กิมจิที่แสนอร่อยเอาไว้ทานกันภายในครอบครัวแล้ว ยังถือเป็นช่วงเวลาที่คนเกาหลี จะได้พบปะ พูดคุย สังสรรค์กันภายในครอบครัว และหมู่ญาติพี่น้องที่มาช่วยกันทำคิมจางอีกด้วย แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป มีการใช้เทคโนโลยีในการผลิตกิมจิมากขึ้น เพื่อให้ทันกับการจำหน่ายและการส่งออก ประกอบกับวิถีการดำเนินชีวิตของชาวเกาหลีในยุคปัจจุบันที่เร่งรีบกว่า เดิม ผู้คนจึงนิยมทำคิมจางกันน้อยลง และหันไปซื้อกิมจิสำเร็จรูปมารับประทานกันมากขึ้นค่ะ ^^

นอกจากการรับประทานกิมจิเป็นเครื่องเคียงในมื้ออาหารต่างๆ แล้วนั้น คนเกาหลียังนิยมนำกิมจิมาเป็นส่วนประกอบในการสร้างสรรค์เมนูอาหารใหม่ๆ เพื่อให้เกิดความหลากหลายและรสชาติที่ไม่ซ้ำซากจำเจจากการรับประทานกิมจิใน รูปแบบเดิมๆ ซึ่งเมนูอาหารใหม่ๆ ที่ใช้กิมจิเป็นส่วนประกอบในการปรุงนั้น ก็ได้แก่ “คิมชีจีเก” (แกงกิมจิ) และ “ข้าวผัดกิมจิ” เป็นต้นค่ะ จะเห็นได้ว่าจากอาหารที่ผ่านกระบวนการการเก็บรักษาเพื่อเอาไว้รับประทานใน ยามขาดแคลน กลับกลายเป็นเมนูอาหารระดับโลกที่ไม่มีใครไม่รู้จัก "กิมจิ" ในทุกวันนี้ไม่ใช่แค่เพียงอาหารประจำชาติของชาวเกาหลีเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดถึงวัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตของชาวเกาหลีให้ชาว ต่างชาติได้รู้จัก ได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียวล่ะค่ะ ^^

ฤดูกิมจิ

ฤดูใบไม้ผลิ นิยมรับประทาน กิมจิน้ำ และ กิมจิผักกาดขาว
ฤดูร้อน นิยมรับประทาน กิมจิแตงกวาสอดไส้ และ กิมจิยอดหัวไช้เท้าอ่อน
ฤดูใบไม้ร่วง จะนิยมรับประทานกิมจิหัวกะหล่ำ และ กิมจิอัลตาริ
  ฤดูหนาว จะนิยมรับประทานหลากหลายชนิด ซึ่งจะเก็บกักตุนไว้เรียกว่า กิมจัง
"กิมจิ" เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับชาวเกาหลี
ดังนั้นเวลามีการเดินทางในต่างแดน ก็ไม่ลืมที่จะพกกิมจิติดตัวไปด้วย
 "กิมจิ" จึงได้เริ่มแพร่หลายในวงกว้าง โดยช่วงแรกเริ่มเข้าไปในประเทศใกล้เคียงก่อน
คือ ประเทศจีน รัสเซีย รัฐฮาวาย และญี่ปุ่น
 โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศญี่ปุ่น ถือได้ว่าเป็นชาติแรกที่นำกิมจิเป็นเครื่องเคียงในอาหารของชาติตนเอง
โดยเรียกกิมจิของตนเองว่า คิมุชิ (Kimuchi)
เพื่อให้เข้ากับการออกเสียงในภาษาญี่ปุ่น
และกิมจิชนิดนี้ มีการเปลี่ยนแปลงรสชาติให้เข้ากับอาหารญี่ปุ่นมากขึ้น
ต่อมากิมจิจึงเป็นที่นิยมขึ้นเรื่อยๆ ในหมู่ชาวต่างชาติในหลายประเทศ เช่นสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และไทย
"กิมจิ" มีสัญลักษณ์ด้วยแหละ
ตัวสัญลักษณ์ "กิมจิ" สร้างขึ้นโดย..
องค์กรการค้าเกษตรกรรมและการประมงเกาหลี (Korea Agro-Fisheries Trade Corporation)
เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2543 เพื่อส่งเสริมกิมจิแท้ จากประเทศเกาหลี
และสร้างความแตกต่างระหว่างกิมจิเกาหลี และกิมจิญี่ปุ่น (Kimuchi) ให้ชัดเจนขึ้น
ตัวสัญลักษณ์กิมจินี้ พบได้เฉพาะกิมจิแท้ของประเทศเกาหลี
ซึ่งต้องทำ และผลิตจากวัตถุดิบในประเทศเกาหลีเท่านั้น
โดยตัวสัญลักษณ์นี้ เป็นเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศเกาหลี
และอีกหลายเมืองหลายประเทศทั่วโลก
ได้แก่ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ไต้หวัน จีน ฝรั่งเศส สเปน สหราชอาณาจักร อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา
สิงคโปร์ เยอรมัน แคนาดา นิวซีแลนด์ ฮอลแลนด์ เปรู และประเทศไทย


อ า ห า ร เ ก า ห ลี ขึ้ น ชื่ อ . . .

-- ต๊อกโบกี --

pic_food4
 ต๊อกโบกี คืออาหารทานเล่นที่ได้รับความนิยมมากในเกาหลีในหมู่ของวัยรุ่นไปจนถึงวัย ผู้ใหญ่  ทำมาจาก garaetuk แป้งพาสต้าเส้นยาว หรือ เค้กข้าว ถูกตัดแบ่งเป็นชิ้นๆ แล้วนำมาผสมกับเครื่องปรุงต่างๆ  โดยนำมาผัดให้เข้ากันกับ โดยส่วนผสมได้แก่ garaetuk เนื้อสัตว์ เค้กปลา ผัก แครอทและหัวหอม ซึ่งคำว่า “ ต๊อก ” แปลว่า แป้งที่ทำจากข้าว ส่วนคำว่า “โปกี ” แปลว่า นำมาผัด ต๊อกโปกีเป็นอาหารว่างที่ได้รับความนิยมโดยทั่วไป ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านหรือรถเข็นริมทาง แต่เดิมเรียกว่า “ ต๊อกจิม ” และยังสามารถนำมาใส่ใน เค้กข้าว (rice cake) ได้ กลายเป็น “ ต๊อกกุก ” (ซุปเค้กข้าว) ซึ่งจะนิยมรับประทานในวันขึ้นปีใหม่ด้วย รสชาติเผ็ดของ ต๊อกโบกีเป็นที่นิยมมาก โดยสามารถหาทานได้ตามร้านข้างทางในเกาหลีเหมือนกับร้านขายไส้กรอกเหมือนย่าน นิวยอร์ก ซึ่งนอกจากนี้ยังสามารถหาทานได้ตามร้านอาหารจานด่วนทั่วไปได้อีกด้วย 

-- ทัคคาลบี --
pic_food5
          
     ทัคคาลบี อาหารขึ้นชื่อของเมืองชุนชอน เป็นเนื้อไก่ที่หั่นออกมาเป็นชิ้นพอคำ คลุกเคล้าด้วยเครื่องปรุงและหมักไว้จนได้ที่ เมื่อรับประทานจะนำมาผัดบนกระทะยักษ์ พร้อมด้วย Rice cake หรือเส้นก๋วยเตี๋ยวแบบหนานุ่มของเกาหลีมาผัดให้เข้ากัน และสุดท้ายเอาข้าวมาผัดทานเป็นข้าวผัดได้อีกด้วย แกล้มด้วยสาหร่าย โอเด้ง (เนื้อปลาผสมแป้ง) กิมจิ พร้อมข้าวสวยร้อนๆ

-- บิบิมบับ --
pic_food6
       
        บิบิมบับ เป็นข้าวสูตรดั่งเดิมของเกาหลี ซึ่งนำเอาข้าวสวย ผักต่าง ๆ เช่น ถั่วงอก ผักกาดเห็ดหอม สาหร่าย และซอสสีแดง มาผัดรวมกัน ซึ่งก็จะได้รสชาตแบบเกาหลีจริง ๆ ทานพร้อมกับน้ำซุป กิมจิ ถั่วงอกดอง หรือเต้าหู้ทรงเครื่อง
        บิบิมบับ จัดได้ว่าเป็นอาหารที่มีความสมดุลเพราะมันมีผักต่างๆ พร้อมกับเนื้อสัตว์หมัก พริกเกาหลีปรุงพิเศษเพิ่มเข้าไปเพื่อสร้างรสชาติที่ยอดเยี่ยม รสชาติของส่วนผสมที่สมดุลที่ได้ประสมประสานรวมกันและมีคุณค่าทางโภชนาการที่ มีปริมาณของเซลลูโลสและวิตามินในขณะที่มีเป็นปริมาณที่หายากของไขมันและคอเล สเตอรอล นอกจากนี้ยังเป็นตัวแทนอาหารตามธรรมเนียมของเกาหลี เมื่อหลายร้อยปีในวันหยุดที่สำคัญ เช่น "เทศกาลชูซอก" (วันขอบคุณพระเจ้าของเกาหลี) จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองวันที่สนุกสนาน

-- ซัมเคทัง --
pic_food7
        ซัมเคทัง หรือไก่ตุ๋นโสมเป็นอาหารเกาหลีชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นซุปใส่เนื้อไก่ ซึ่งภายในเนื้อไก่จะยัดไส้เครื่องสมุนไพรชนิดต่าง ๆ อาทิ ข้าวเหนียว พริกไทยแดง รากโสม เกาลัด พุทราจีน เป็นต้น รับประทานพร้อมกับเครื่องเคียง อาทิ เส้นแป้งลักษณะคล้ายเส้นขนมจีน เหล้าโสม พริกไทยดำ เกลือ นิยมเสิร์ฟในหม้อซุปที่ทำมาจากหิน รับประทานร้อนๆ เชื่อกันว่าเสริมสุขภาพและบำรุงกำลัง ในอดีตจัดเป็นอาหารที่รับประทานกันภายในพระราชวัง ปัจจุบันดูเหมือนจะเป็นอาหารที่นิยมรับประทานกันในฤดูหนาว เพราะลักษณะเหมือนกับจะให้ความอบอุ่นคลายความหนาวได้ แต่ความจริงแล้วชาวเกาหลีจะนิยมรับประทานซัมเคทังในฤดูร้อน เนื่องจากนิยมว่าเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วทำให้เหงื่อออก จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ ช่วยให้คึกคักกระปรี้กระเปร่า


นอกจากนี้ แม้ว่าวัฒนธรรมจากประเทศเกาหลีใต้ จะมีอิทธิพลมากมายอย่างไรในประเทศไทย แต่ต้องไม่ลืมความเป็นคนไทย ที่ต้องรักษาและหวงแหนวัฒนธรรมของเราด้วย เป็นเรื่องดีที่ประเทศของเรา เปิดรับวัฒนธรรมทุกวัฒนธรรมได้อย่างเสรี แต่มันจะเป็นเรื่องที่ดีกว่ามาก ถ้าคนไทยทุกคนพร้อมที่จะรักษาวัฒนธรรมไทยของเราเอง ซึ่งบางครั้งการรักษาวัฒนธรรม ก็ไม่จำเป็นต้องมีความสามารถในศาสตร์และศิลป์ต่าง ๆ เพราะเราสามารถกระทำได้อย่างง่ายดาย เช่น วัฒนธรรมการไหว้ของไทย ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึง เอกลักษณ์ของชาติไทยได้อย่างสมบูรณ์ การไหว้ที่อ่อนช้อย งดงาม ถูกขั้นตอนและกาลเทศะ คือวัฒนธรรมที่เรามีมาแต่โบราณ




วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

4.วัฒนธรรมการใช้ชีวิตพื้นฐานของคนเกาหลี



วัฒนธรรมที่คนเกาหลีทำและไม่ทำ?


        ไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนก็จะต้องมีวัฒนธรรมหรือสิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาอยู่แล้ว   แล้วสงสัยกันไหมว่าถ้าอย่างนั้นชาวเกาหลีเขามีวัฒนธรรมอะไรที่ทำและไม่ทำกันบ้าง ลองมาดูกันดีกว่าค่ะ

1. การทักทาย
คนเกาหลีทำ : การกล่าวคำทักทายและคำขอบคุณนั้น คนเกาหลีจะต้องก้มศีรษะคำนับเสมอ ส่วนการโค้งต่ำระดับไหนนั้น จะขึ้นอยู่กับความอาวุโสของอีกฝ่ายนั่นเอง
คนเกาหลีไม่ทำ : การกล่าวทักทายด้วยการโอบกอดในที่สาธารณะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำกับคนที่เพิ่งเจอกันเป็นครั้งแรกหรือไม่ได้สนิทสนมกันพอสมควร นอกเสียจากเป็นการกอดเพื่อการล่ำลาสำหรับในเรื่องของการทักทายของคนเกาหลีก็จะมีวัฒนธรรมที่มีความคล้ายคลึงกันกับคนไทยอยู่มาก จะแตกต่างกันตรงที่คนเกาหลีจะก้มศีรษะ แต่บ้านเราจะเป็นการไหว้ แต่ปัจจุบันวัฒนธรรมของประเทศตะวันตกก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น การทักทายด้วยการกอดหรือการจับมือ จึงได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความสนิทสนมระหว่างบุคคล แต่ถ้าพบกับผู้ใหญ่ก็ยังคงวัฒนธรรมการทำความเคารพไว้เสมอ

2. การเรียกผู้อื่น
คนเกาหลีทำ : การเรียกคนที่ไม่รู้จักกัน หรือไม่รู้จักชื่อ จะใช้คำพูดที่เป็นการเกริ่นนำขึ้นมาก่อนไม่ได้มีคำเรียกบุคคลนั้นตายตัว เช่น ขอโทษนะคะ,ไม่ทราบว่า แต่อาจจะใช้คำสรรพนามที่สามารถ ใช้เรียกได้เลย เช่น 아저씨 (อาจอชี) ซึ่งแปลว่า คุณลุง หรือ 아줌마 (อาจุมม่า) ซึ่งแปลว่า คุณป้า การเรียกคนที่มีอายุมากกว่า จะไม่เรียกชื่อเขา แต่จะใช้สรรพนามให้เหมาะสมกับเขาคนนั้น แต่ถ้าเรียกคนที่มีอายุน้อยกว่า หรือเป็นเพื่อนรุ่นเดียวกัน สามารถเรียกชื่อได้ หรืออาจใช้สรรพนามแทนก็ได้เช่นกัน
การเรียกผู้อาวุโสอาจเติมคำว่า (นิม : เป็นคำต่อท้ายที่แสดงถึงความเคารพหรือหมายถึงการให้เกียรติ หรือผู้ที่น่ายกย่อง) ต่อท้ายตำแหน่งหน้าที่การงานของบุคคลนั้น เช่น ครู,อาจารย์ (선생님 อ่านว่า ซอนแซงนิม) หรือเติมคำว่าคุณ” ( อ่านว่า ชี) ต่อท้ายชื่อเต็มของเพื่อนร่วมงาน เพื่อความสุภาพมากขึ้น เช่น คุณฮานึล (하늘씨 อ่านว่า ฮานึลชี)
*เรามักจะได้ยินศิลปินจากค่าย SM Entertainment กล่าวขอบคุณประธานของค่ายอย่างคุณอีซูมานอยู่บ่อยๆและพวกเขาจะเรียกว่าอีซูมานซอนแซงนิมซึ่งเป็นการเรียกที่ให้เกียรติและแสดงความเคารพ
คนเกาหลีไม่ทำ : จะไม่เรียกคนที่ไม่รู้จักกันหรือไม่รู้จักชื่อว่า (นอ) ซึ่งแปลว่า คุณหรือเธอเพราะเป็นคำที่ใช้เรียกกันเฉพาะเพื่อนหรือคนสนิทเท่านั้น
ข้อแตกต่างระหว่างคนไทยกับคน
เกาหลีอีกอย่างคือการเรียกชื่อ บ้านเราไม่ว่าจะสนิทกันมากหรือไม่ก็ตาม ก็สามารถเรียกชื่อเล่นได้ ในขณะที่คนเกาหลีจะต้องเป็นคนที่สนิทสนมกันหรือได้รับ การอนุญาตจากอีกฝ่ายหนึ่งก่อนจึงจะสามารถเรียกชื่อเล่นกันได้

3. การรับประทานอาหาร
คนเกาหลีทำ : ใช้ตะเกียบโลหะกับช้อนยาวโดยใช้ช้อนรับประทานข้าวซุป และสตูว์ และใช้ตะเกียบกับเครื่องเคียงแบบอาหารแห้ง เคี้ยวอาหารหรือซดน้ำซุปเสียงดัง เพื่อแสดงความอร่อย (คล้ายวัฒนธรรมจีนและญี่ปุ่น) วางช้อนและตะเกียบลงบนโต๊ะเมื่อทานเสร็จ แล้วน้อมรับคำชมเกี่ยวกับรสชาติอาหารและบริการผู้น้อย ก่อนจะรับประทานอาหาร ต้องรอให้ผู้อาวุโสที่สุดเป็นฝ่ายบอกเริ่มการรับประทานอาหารเสมอ เมื่อมีคนรินเครื่องดื่มให้ก็ควรรินกลับเพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณ ผู้ที่มีอายุน้อยที่สุดต้องเป็นคนรินเครื่องดื่มให้ผู้อาวุโส กว่าเสมอและต้องรินด้วยสองมือ
คนเกาหลีไม่ทำ : ใช้ช้อนและตะเกียบพร้อมกัน ปักตะเกียบไว้ในชามข้าว เพราะถือว่าเป็นการเซ่นไหว้คนตาย ยกจานหรือชามขึ้นมาขณะรับประทานอาหาร การพูดคุยระหว่างมื้ออาหารที่มากเกินไป การสั่งน้ำมูกในโต๊ะอาหาร ลุกจากโต๊ะอาหารก่อนที่ผู้อาวุโสที่สุดจะรับประทานเสร็จ รินเครื่องดื่มให้ผู้อื่นขณะที่เครื่องดื่มในแก้วยังไม่หมดในข้อนี้ก็เป็นมารยาทขั้นพื้นฐานที่คนส่วนใหญ่มักจะทำกันอยู่แล้ว คนเกาหลีนั้นจะให้ความสำคัญกับผู้อาวุโสและมารยาทที่คน อายุน้อยกว่าจะต้องเคารพผู้ที่อาสุโสกว่าไม่ว่าจะเป็นด้านอายุหรืออาชีพการงาน

4. การแสดงออก
คนเกาหลีทำ : การจับมือทักทายกันอย่างสุภาพโอบกอดในที่สาธารณะทำเฉพาะกรณีเพื่อการล่ำลา แสดงออกอย่างอ่อนน้อมถ่อมตน ชาวเกาหลีจะแสดงแสดงความคิดเห็นด้วยความระมัดระวังรอบ คอบเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นเกิดการเข้าใจหรือตีความหมายผิด
คนเกาหลีไม่ทำ : การแสดงความรักระหว่างเพศในที่สาธารณะ (เช่น กอด, จูบ) ถูกเนื้อต้องตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณศีรษะนอกจากจะแสดงความเอ็นดูต่อเด็กเล็กๆ เท่านั้น คุยโวโอ้อวดความสามารถของตนเอง แสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาทิ้งขยะบนท้องถนนเพราะค่าปรับแพง

5. การใช้มือ
คนเกาหลีเวลาที่จะมอบและรับสิ่งของหรือรับสิ่งของจากผู้ใหญ่จะทำโดยการใช้มือทั้งสองมือในการรับ ถ้ารับของจากผู้ใหญ่โดยใช้มือเดียวจะถือว่าเป็นการเสียมารยาท
ทั้งหมด 5 ข้อนั้นก็เป็นมารยาทพื้นฐานที่คนเกาหลีต้องทำกัน แต่ก็มีอีกเล็กๆน้อยๆที่ควรจะรู้ไว้บ้าง ถ้าหากมีโอกาสได้เดินทางไป จะได้ไม่ทำผิดกันนะ
- ในเกาหลี การให้ทิป ไม่ใช่สิ่งจำเป็น เพราะตามโรงแรม และร้านอาหารจะบวกค่าบริการ (Service Charge) ไว้แล้ว 5-10% ของค่าอาหาร หรือห้องพัก- ค่าเลี้ยงสุนัขที่เกาหลีใต้ค่อนข้างแพง ถ้าหากจูงสุนัขไปเดินเล่นตามถนน แล้วสุนัขอึเราต้องทำการเก็บทำความสะอาดให้เรียบร้อย ไม่อย่างนั้นอาจจะต้องเสียค่าปรับก็ได้นะ
- ประเทศเกาหลีใต้ มีระบบตรวจจับคนที่ขับรถผิดกฎจราจร ซึ่งทางตำรวจจะส่งหลักฐานมาถึงบ้านเพื่อแจ้งเรื่อง ความเร็ว, เวลา, ทะเบียนรถยนต์ และผู้ทำผิดกฎจราจรต้องไปเสียค่าปรับที่โรงพักเอง
- ผู้หญิงเมื่อแต่งงานแล้ว จะไม่เปลี่ยนไปใช้นามสกุลของสามี แต่จะยังคงใช้นามสกุลของตนตามเดิม ส่วนลูกที่เกิดมาจะใช้นามสกุลของพ่อ

6.ชื่อคนเกาหลี ชาวเกาหลีส่วนใหญ่จะมีชื่อสกุลจำกัดอยู่ในไม่กี่กลุ่มชื่อ เช่น 21% จะมีชื่อสกุลว่า คิม 14% จะมีชื่อสกุลว่า ยี, ลี หรือ รี 8% มีชื่อสกุลว่า ปาร์ค นอกจากนั้นก็มีชื่อสกุลแตกออกไปอีกเช่น ชอย (หรือ แช) เจิง (หรือ ชุง) จาง (หรือ ชาง) ฮัน , ลิม เป็นต้น ชื่อเต็มของชาวเกาหลีก็จะประกอบด้วย ชื่อสกุล 1 พยางค์และชื่อหน้า 2 พยางค์ ชื่อสกุลจะเขียนก่อน สตรีชาวเกาหลีจะไม่เปลี่ยนชื่อสกุลตามคู่สมรส แต่บุตรและธิดาจะใช้ชื่อสกุลของบิดา

7.การสมรส ชาวเกาหลีถือว่าการสมรสนั้นเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในชีวิต และการหย่าร้างถือว่าเป็นความตกต่ำเสียชื่อเสียงไม่เพียงแต่สำหรับคู่สมรส เท่านั้น แต่รวมไปถึงครอบครัวเลยทีเดียว แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม อัตราหย่าร้างในปัจจุบันก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นเร็วพอควร การประกอบพิธีสมรสในปัจจุบันแตกต่างไปจากในสมัยโบราณ นั่นคือในปัจจุบันนี้พิธีจะเริ่มด้วยแบบทางตะวันตก นั่นคือมีการสวมชุดวิวาห์สีขาวสำหรับเจ้าสาวและทัคซีโดสำหรับเจ้าบ่าว โดยประกอบพิธีในห้องจัดพิธีวิวาห์ หรือในโบสถ์ ต่อมาช่วงบ่ายจะมีพิธีแบบ ดั้งเดิมในสถานที่ใหม่ด้วยชุดวิวาห์ที่มีสีสันงดงาม

8.เจเย (พิธีเคารพบูชาบรรพบุรุษ) ตามหลักความเชื่อดั้งเดิมของเกาหลีนั้น เมื่อบุคคลหนึ่งสิ้นชีวิตลง วิญญาณของเขายังไม่ไปไหน แต่ยังวนเวียนอยู่ใกล้เป็นเวลากว่า 4 ชั่วคนทีเดียว ในช่วงเวลาอันยาวนานนี้ผู้ตายยังถูกถือว่าเป็นสมาชิกของครอบครัวความ สัมพันธ์อันนี้ถูกถ่ายทอดออกมาด้วยพิธีเจเยซึ่งจัดขึ้นในวันพิเศษต่างๆ เช่น ซอลัล และชูซก รวมทั้งวันครบรอบวันเสียชีวิตของบรรพบุรุษเหล่านั้น ชาวเกาหลีเชื่อว่าการที่เขามีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขนั้นก็ด้วยพรอัน ประเสริฐซึ่งบรรพบุรุษให้ไว้นั่นเอง

9.ภาษากาย เมื่อต้องการกวักมือเรียกผู้อื่นนั้น ควรคว่ำมือลงและกวักนิ้วเรียกโดยใช้นิ้วชิดกัน การกวักมือเรียกโดยหงายฝ่ามือขึ้นนั้นไม่สุภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้นิ้วกวักเรียก เพราะถือเป็นกิริยาเรียกสุนัขสำหรับชาวเกาหลี

    ทั้งหมดนี้ก็คือวัฒนธรรม ซึ่งเป็นมารยาทพื้นฐานที่คนเกาหลีปฏิบัติกันมาไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนๆก็ล้วนแล้วแต่ต้องมีวัฒนธรรมของประเทศกันทั้งนั้น ดังนั้นเราคนไทยถ้าจะเดินทางไปที่ต่างประเทศ      ไม่เพียงแค่ประเทศเกาหลีเท่านั้น ก็ควรจะปฏิบัติตัวให้ถูกต้องกับมารยาทของประเทศนั้นๆด้วย


วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

3.วัฒนธรรมด้านกีฬา

กีฬาประเพณี 

ชาวเกาหลีรักการกีฬาเป็นอย่าง มาก 20 ปีมาแล้ว ที่เกาหลีเป็นเจ้าภาพการแข่งขันนานาชาติต่างๆรวมทั้งกีฬาโอลิมปิคในปี ค.ศ.1988 และฟุตบอลโลกค.ศ.2002 นอกจากนี้นักกีฬาของเกาหลีก็ได้คะแนนยอดเยี่ยมในการแข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆนอกจากกีฬาสมัยใหม่เช่นการชิงแชมป์นานาชาติเรือกีฬาฤดูหนาวแล้ว เกาหลียังมีการละเล่นตามประเพณีแบบชาวบ้านและกีฬาแบบต่าง ๆ อันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและถ่ายทอดมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ การละเล่นหรือกีฬาประเภทนี้จะเล่นกันในโอกาสพิเศษเช่น วัดขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติ วันชูซก (วันขอบคุณพระเจ้าของเกาหลี) หรือวันทาโน๊ะวันที่ 5 เดือน 5 จันทรคติ

การต่อสู้ซีรึม

      ซีรึม เป็นหนึ่งในกีฬาประเพณีของเกาหลีที่ถูกถ่ายทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณการเล่นประกอบด้วยนักกีฬา 2 คน ที่ต้องจับเชือกคาดเอวของคู่ต่อสู้ให้มั่น และใช้พลังของตัวเองโยนคู่ต่อสู้ของตัวให้ลงพื้นให้ได้จึงจะเป็นผู้ชนะใน ปัจจุบัน ซีรึมเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมมากในหมู่สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีชาวเกาหลีทั้งหนุ่มสาวและผู้สูงอายุและทุกๆปีก็จะมีการแข่งขันกีฬานี้บ่อย ๆ  


กีฬาเทควันโด

     กีฬายอดนิยมที่โด่งดังจนเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลกนี้ เป็นกีฬาที่ถือกำเนิดขึ้นมาจากประเทศเกาหลีมีประวัติยาวนานกว่า 2,000 ปี เป็นกีฬาที่ใช้ทุกส่วนของร่างกายโดยเฉพาะแขนและขากีฬาเทควันโดไม่ได้เป็นแค่ ศิลปินการป้องกันตัวเท่านั้นแต่ยังเป็นการเสริมสร้างบุคลิกภาพโดยการฝึกกาย และจิต คำว่าเทควันโด มาจากการรวมคำสามคำคือ คำว่า “แท”แปลว่า เท้าหรือการโจมตีด้วยเท้า “คว็อน”แปลว่ามือหรือการโจมตีด้วยมือ “โท”แปลว่า วิถีหรือสติปัญญา เมื่อรวมกันแล้วจะสามารถแปลได้ว่าวิถีแห่งการใช้มือและเท้าในการต่อสู้และ ป้องกันตัวหรือการใช้มือและเท้าในการต่อสู้และป้องกันตัวอย่างมีสติ 

 เทควันโด-เกาหลี

 การยิงธนู

       การยิงธนู คือประเพณีแห่งศิลปะการต่อสู้และขณะเดียวกันก็เป็นการละเล่น ตั้งแต่ยุคสมัยเกาหลีโบราณ การยิงธนูเป็นการแสดงความสามารถที่สำคัญทีเดียว และได้รับการขนานนามว่าเป็นกีฬาชั้นสูง

 






การละเล่นตามประเพณี

คีเนตุยกี-เกาหลี


คีเนตุยกี(ชิงช้า) คีเนตุยกี เป็นการละเล่นที่คนเล่นนั้นสามารถเล่นได้ทุกเพศทุกวัย แต่นิยมที่จะเล่นกันใน หมู่สุภาพสตรี เช่นเดียวกับนอลตุยกี คีเนตุยกีทำขึ้นโดยใช้เชือก 2 เส้นผูกติบแดกัผ่นไม้และนำไปแขวนติดกับต้นไม้สูง หรือผูกติดกับไม้ซุงที่ต่อเป็นคานหญิงสาวชาวเกาหลีจะสามารถโล้ชิงช้าคึเนนี้ ไปได้สูงจนน่าตกใจเลยทีเดียว โดยนิยมเล่นกันในวันทาโน๊ะคึเน




หมากรุก-เกาหลี

ชางกี (หมากรุกเกาหลี)  ชางกีเป็นหมากกระดานที่มีการละเล่นคล้ายกับหมากรุกสากล โดยต้องใช้ผู้เล่นทั้งหมด 2 คน เช่นเดียวกับหมากเดินทำด้วยไม้หรือพลาสติก บรรดานักเล่นหมากรุกทั้งหลายย่อมรู้จักตัวพระราชา เรือ ม้า และเบี้ย อื่น ๆ แต่ที่แตกต่างจากหมากรุกสากลคือมีช้างและปืนใหญ่ด้วยการละเล่นนี้และพาดุก ถือว่าเป็นการละเล่นแบบต้องใช้ยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีต่างๆ ในการเอาชนะคู่ต่อสู้ โดยเป็นการจำลองการสั่งการในสนามรบอย่างหนึ่ง


นอลตุยกีเกาหลี2

นอลตุยกี (กระดานหก) การละเล่นชนิดนี้ เป็นประเพณีการละเล่นสำหรับสุภาพสตรี ส่วนวิธีการเล่นนั้น จะใช้แผ่นไม้ยาวพาดฐานตรงกลางที่ทำจากกองฟางที่แห้งแข็ง ทำให้มีลักษณะเหมือนม้ากระดกแบบตะวันตก อีกทั้งยังมีวิธีเล่นที่คล้ายกัน เพียงแต่เปลี่ยนจากการนั่ง เป็นการยืนผลัดกันกระโดดลงบนลายไม้แต่ละข้างซึ่งจะทำให้ฝั่งตรงข้ามถูกแรง ดีดของไม้กระดานลอยตัวขึ้นไปการละเล่นนี้มักจะเล่นกันในวันหยุดตามประเพณี ต่างๆเช่นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ วันชูซกหรือวันทาโน๊ะ


หมากล้อม-เกาหลี1

พาดุก หรือในภาษาญี่ปุ่น เรียกว่า “โก” และคนไทยเรียกว่าหมากล้อมกก เป็นการละเล่นบนกระดาน 4 เหลี่ยม โดยมีผู้เล่น 2 คนผลัดกันวางหมากสีขาว และสีดำสลับกัน ลงบนจุดตัดบนกระดาน เพื่อแย่งชิงพื้นที่กันโดยใครที่สามารถครอบครองพื้นที่ได้มากกว่า ก็จะเป็นผู้ชนะไป พาดุกเป็นการละเล่นที่เป็นที่นิยมไปทั่วโลก ซึ่งกลายเป็นการละเล่นสากลที่มีการจัดการแข่งขันกันอย่างจริงจังพาดุกนั้นมี ความซับซ้อน และหลากหลายมาก จนสามารถกล่าวได้ว่าตั้งแต่กำเนิดพาดุกมา ไม่มีหมากกระดานใดที่เดินเหมือนกันเลย




ยุทนอริ-เกาหลี

  ยุทนอริ-เกาหลี2

ยุทนอริ การละเล่นแบบไม้ 4 แท่ง ยุทนอริจัดเป็นการละเล่นของเกาหลีแท้ๆซึ่งจะนิยมเล่นกันในเดือนช่วงเดือน มกราคมในจันทรคติและวันขึ้นปีใหม่โดยคำว่ายุท เป็นคำ ๆ หนึ่งในเกมส์นี้ (โด, เก, กล, ยุท และโม) หมายความว่า “สี่” เกมส์มีความคล้ายคลึงกับ เกมส์พาชีสิ แต่การเล่นแบ่งออกเป็น 2 ทีม วิธีเล่นก็โยนไม้ทั้งสี่แล้วเมื่อได้ผลลัพธ์เป็นอะไรก็เดินหมากไปรอบ ๆ ตามนั้น แบ่งเป็นสองทีม

2.วัฒนธรรมการแต่งกาย

 
เครื่องแต่งกายของชาวเกาหลีใต้ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีชื่อเรียกว่า “ฮันบก (한복)” ซึ่งหากแยกคำ “ฮัน”  จะหมายถึง ชาวฮั่นหรือชาวเกาหลี และ “บก” หมายถึง ชุด ความหมายรวมจึงเป็น “ชุดของชาวเกาหลี” นั่นเอง


 




     ความงามและความอ่อนช้อยของวัฒนธรรมเกาหลี มักถูกถ่ายทอดออกมาผ่านทางภาพถ่ายของสุภาพสตรีในเครื่องแต่งกายฮันบกนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่ชุดฮันบกจะเป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของประเทศเกาหลีเครื่องแต่งกายทั้งของผู้หญิงและผู้ชาย จะมีลักษณะหลวมเพื่อความสะดวกสบาย ในการเคลื่อนไหว และเสื้อผ้าจะใช้ผ้าผูกแทนกระดุมหรือตะขอ โดยส่วนประกอบของชุดฮันบก  มีดังนี้



 ชุดผู้หญิง

   หญิง สวมกระโปรงทรงหลวมยาวถึงข้อเท้า สวมเสื้อคลุมผ่าอกตัวสั้น ๆ อยู่เหนือเอว แขนยาวถึงข้อมือ ฮันบกไม่มีปก ตัวเสื้อไขว้กัน มีโบว์ผูกที่ อกด้านขวา เรียกว่า “จอโกลี” หน้าหนาว จะสวมทูรูมาคี ถุงเท้าเรียกว่า "ฟอซ็อน" สวมรองเท้ายาวสีขาว มีปลายงอนเล็กน้อย เรียกว่า โกมูซิน มีผ้าผูกที่หน้าอกในแทนเสื้อยกทรง เรียกว่า "ซ๊อกซีมา" กระโปรงกับเสื้อคลุมจะสีเดียวกันก็มี คนละ สีก็มี กระโปรงเรียกว่า "ซีมา"ทำด้วยผ้าฝ้ายไหมอย่างดี ผ้าไหมของเกาหลีเนื้อหนา มีน้ำหนักมาก มีจีบรอบขึ้น มาเหนืออกมีผ้าขลิบตามคอ สีจะติดกับแขน ทรงกระโปรงจะเรียกว่า "ทรง Empire"










 ชุดไม่เป็นทางการของพระราชนี


  ชุดผู้ชาย 
        สวมกางเกงขายาวสีขาวหลวม ๆ เรียกว่า "บาจี" รวบปลายขาด้วยแถบผ้าเรียกว่า “แทนิน” สวมถุงเท้า เรียกว่า “ยังมัล” สวมเสื้อแขนสั้น รัดรูปแขนสั้น ไว้ข้างในเรียกว่า “บันโซเม” สวมเสื้อหลวม ๆ หรือแต่งแบบชาวตะวันตก เสื้อประจำชาติเป็นเสื้อตัวยาว แขนยาวไม่มีปกไม่มี กระเป๋า เรียกว่า “ซอโกรี” แต่บางทีสวมเสื้อกัก ไม่มีแขน มีกระเป๋าเรียกว่า “โจ๊ะกี” ผู้ชายนิยมสวม หมวกสีดำ ไม่มีปีกเหมือนผ้าโปร่ง รัดรอบศีรษะ เรียกว่า “ท้งก็อน” แล้วสวมหมวกทรงสูงมีปีก เรียกว่า “คัช”




 


  องค์ประกอบของแต่ละชิ้น

            ผู้หญิง

  
                                           แพนที = กระโปรงชั้นใน
                                        ซ็อกชีมา = แถบผ้าขนาดใหญ่ ใช้มัดทรวงอกแทนเสื้อยกทรง

 


                                              ชีมา = กระโปรงชั้นนอก ยาวคลุมเท้า  

 
                                                 ซอโกรี = เสื้อนอกแขนยาว



 โชกี = เสื้อกั๊ก จะใส่เวลาออกงานต่างๆ




 อา-ยัม  =  เป็นหมวกสำหรับผู้หญิง ใส่กับชุดฮันบก
มีหางยาวไปถึงหลัง ไว้ป้องกันความเหน็บหนาว






พี-นยอ = ปิ่นปักผมของผู้หญิง ไว้ปักมวยผมด้านหลัง
ความยาวและวัสดุที่ใช้จะขึ้นอยู่กับสถานะและบรรดาศักดิ์ของแต่ละคน

 

 

ตอล-จัม =  เป็นปิ่นประดับผม ใช้กับวิกผม แบบที่อยู่ในรูปด้านบน
ส่วนหัวของปิ่น มีลักษณะเป็นหัวใหญ่ๆ ประดับอย่างสวยงามด้วยเพชรนิลจินดา
ผู้ที่ใส่คือ ผู้หญิงในราชวงศ์ เช่น เจ้าหญิงและพระชายา




  โน-รี-แก =  เป็นเครื่องประดับที่ไว้ห้อยติดกับชอโกรี



กด-ชิน =  หลังจากใส่ถุงเท้าแล้ว ก็ต้องทับด้วยรองเท้าสำหรับชุดฮันบก
     รองเท้าสำหรับผู้หญิง จะมีลายดอกไม้อยู่รอบๆรองเท้า

    ผู้ชาย
    

พาจี = กางเกงขายาวชั้นนอก รวบปลายขาด้วย แทมิน
วิธีผูกแทนิม (대님) ที่ปลายพาจี


แทมิน = แถบผ้าใช้มัดขากางเกง 



โชกี = เสื้อกั๊ก จะใส่เวลาออกงานต่างๆ

 

 ทูรูมากี = เป็นเสื้อนอก คล้ายเสื้อโค้ต ใส่เมื่อออกไปข้างนอก

 

คัด =  เป็นหมวกสำหรับผู้ชาย ทรงสูง มีสายรัดใต้คาง สีดำโปร่ง
ส่วนใหญ่จะเป็นขุนนาง หรือผู้ที่ทำงานอยู่ในวังใส่กัน

 

เวลาที่ใส่คัด ผู้ชายก็จะทำผมทรงซังทู (상투)


 

พอ-ซอน = เป็นถุงเท้าสำหรับชุดฮันบก

การผลิตชุดฮันบก มีประเภทเนื้อผ้าที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับโอกาสและวัยของ ผู้สวมใส่ โดยเด็กผู้หญิงหรือหญิงสาว (ที่ยังไม่แต่งงาน) จะสวมเสื้อสีเหลือง กระโปรงสีแดง และจะเปลี่ยนเป็นเสื้อสีเขียว กระโปรงสีแดงเมื่อแต่งงานแล้ว นอกจากนี้ ชาวเกาหลียังคำนึงถึงความเหมาะสมของเนื้อผ้ากับสภาพ
อากาศประเทศของตนอีกด้วย โดยในฤดูหนาวจะใช้ผ้าฝ้ายและสวมกางเกงขายาวที่มีสายรัดข้อเท้า ช่วยในการเก็บความร้อนของร่างกายส่วนในฤดูร้อนจะใช้ผ้าป่านลงแป้งแข็ง ซึ่งช่วยในการดูดซับและแผ่ระบายความร้อนในร่างกายได้ดี ในปัจจุบันการสวมชุดประจำชาติฮันบก จะใช้เฉพาะในโอกาสพิเศษต่างๆเท่านั้น เช่น งานมงคลสมรส, ซอลนัล (วันขึ้นปีใหม่ของเกาหลี) หรือวันชูซก (วันขอบคุณพระเจ้า) แต่อย่างไรก็ตาม ผู้คนบางกลุ่ม โดยเฉพาะผู้สูงอายุก็ยังคงสวมใส่ชุดฮันบกกันอยู่